Posted by
Fonny
In:
วิชาก้าวทันโลกศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ความหมายของกฎหมาย
(1) กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม
มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปจึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยกฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกันก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง
ลักษณะของกฎหมาย
เราสามารถแยกลักษณะของกฎหมายออกได้เป็น 5 ประการ คือ
1.กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ซึ่งจะแตกต่างกับการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตาม คำสั่งหรือข้อบังคับนั้นมีลักษณะให้เราต้องปฏิบัติตามแต่ถ้าเป็นการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือเราจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้เช่นนี้เราก็จะไม่ถือเป็นกฎหมาย เช่น การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ หรือช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
2.กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์หรือผู้ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ รัฐาธิปัตย์คือผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ในระบอบเผด็จการหรือระบอบการปกครองที่อำนาจการปกครองประเทศอยู่ในมือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด มีอำนาจออกกฎหมายได้ เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นกฎหมาย ส่วนในระบอบประชาธิปไตยของเรา ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน กฎหมายจึงต้องออกโดยประชาชน คำถามมีอยู่ว่าประชาชนออกกฎหมายได้อย่างไร ก็ออกโดยที่ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)นั่นเอง ดังนั้นการเลือก ส.ส. ในการเลือกทั่วไปนั้นนอกจากจะเป็นการเลือกคนเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ยังเป็นการเลือกตัวแทนของประชาชนเพื่อทำการออกกฎหมายด้วย
นอกจากดังกล่าวมาข้างต้น อาจมีบางกรณีที่กฎหมายให้อำนาจเฉพาะแก่บุคคลในการออกกฎหมายไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงที่ออกโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) ฯลฯ
3.กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป คือเมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร หรือหากได้กระทำความผิดอาญา ก็อาจได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย โดยต้องให้ประเทศซึ่งส่งฑูตนั้นมาประจำการดำเนินคดีแทน ฯลฯ
4.กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการประกาศใช้แล้วแม้กฎหมายนั้นจะไม่ได้ใช้มานาน ก็ถือว่ากฎหมายนั้นยังมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอด กฎหมายจะสิ้นผลก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายนั้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นเท่านั้น
5.กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ ถามว่าอะไรคือสภาพบังคับ นั่นก็คือการดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นด้วย
ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯนั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯในคราวเดียวกันก็ได้
แต่กฎหมายบางอย่างก็อาจไม่มีสภาพบังคับก็ได้ เนื่องจากไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่อาจบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิให้แก่บุคคล หรือทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลที่มีอายุ 15 ปีแล้วสามารถทำพินัยกรรมได้ ฯลฯ หรือออกมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้จะไม่มีโทษทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด
ที่มาของกฎหมาย
1.ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วก็จะหมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
2.จารีตประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นเดียวกับศีลธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจารีตประเพณี คนในสังคมนั้นๆก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่สมควรกระทำ จึงนำมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆยอมรับ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือกฎหมายในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาจะใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษา ซึ่งคำพิพากษานั้นถือเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆก็มีการนำจารีตประเพณีมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายเช่นกัน เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ
3.ศาสนา คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงามต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาอิสลาม นั่นหมายถึงศีลธรรม เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาพุทธ นั่นหมายถึงเรากล่าวถึงศีลธรรมเช่นกัน กฎหมายของแต่ละประเทศก็จะบัญญัติขึ้นโดยอาศัยศาสนาเป็นรากฐานด้วย เช่นในประเทศไทยเราในทางอาญาก็จะนำศีล 5 มาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย เช่นห้ามฆ่าผู้อื่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
4.คำพิพากษาของศาล มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศอังกฤษ คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่านั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้ จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น
5.หลักความยุติธรรม(Equity) หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง ตัวอย่างที่สำคัญคือ ในอังกฤษนั้นแต่ก่อนการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นจะฟ้องเรียกได้เฉพาะจำนวนเงินเท่านั้น จะฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย เนื่องจากในบางรายผู้เสียไม่ได้ต้องการเงินค่าเสียหาย แต่ต้องการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำต่อกัน ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาหลักความยุติธรรมาใช้โดยอนุญาตให้มีการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตามความมุ่งหมายของผู้ที่เสียหายได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้ เช่น แนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ ในประเทศรัสเซีย
(2.)ความสำคัญของกฎหมาย
ปัจจุบันกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์แต่ละคน อย่างมากตั้งแต่มนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา กฎหมายก็เข้ามารับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาพอทารกคลอดออกมาแล้วกฎหมายก็บังคับ ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่ออายุ 15 ปี กฎหมายก็บังคับให้ต้องทำบัตรประชาชน โตขึ้นมาอีกจะแต่งงานกฎหมายก็บังคับให้ต้องจดทะเบียนสมรส พอแก่ตัวใกล้จะตาย กฎหมายก็เปิดทางให้สามารถกำหนดการเผื่อตาย โดยการทำพินัยกรรม จนกระทั่งคนตายกฎหมายก็บังคับให้ผู้พบเห็นการตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในทางเศรษฐกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจ ก็ต้องพิจารณาว่าจะจัดตั้งในรูปใด จะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งก็มีกฎหมายเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ เมื่อทำธุรกิจมีกำไรก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องของกฎหมายอีก
เมื่อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตคนเราเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย เพื่อให้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองที่มีตามกฎหมาย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย แต่ก็มีหลักกฎหมายว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" ทั้งนี้ก็โดยเหตุเนื่องมาจากการใช้นโยบายว่าบุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นผล เพราะทุกคนต่างก็จะอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดเสมอนอกจากนี้หาก ยอมให้อ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ต้องรับผิดได้ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้คนไม่ต้องรับรู้กฎหมาย เพราะรู้กฎหมายน้อยก็รับผิดน้อย
หลักกฎหมายที่ว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" นี้บัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ต้วว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความผิดในทางอาญาไม่ได้แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิด อาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 นี้ไม่ยอมรับเอาความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัว แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีหากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจเป็นการไม่ยุติธรรมเช่น คนต่างด้าวที่เพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ หรือผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ ฉะนั้นจึงมีข้อยกเว้นให้อ้างความไม่รู้กฎหมายได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ
1) ศาลเห็นว่า
ตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ กฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และ
2) ศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น
ผลของการอ้างความไม่รู้กฎหมายที่ครบตามเงื่อนไข 2 ประการข้างต้น ก็คือ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษไม่ได้ ซึ่งเท่ากับว่า แม้ข้ออ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ศาลจะเชื่อและรับฟังก็ไม่ทำให้ผู้ยก ข้ออ้างนี้หลุดพ้นจากความรับผิด ทางอาญาแต่อย่างใด
(3.)องค์ประกอบของกฎหมาย
1.สถาบัน
2.ตำแหน่ง
3.หน้าที่
4.อำนาจ
5.ความรับผิดชอบ
“สถาบัน” ได้แก่ ส่วนราชการ (สถานที่ทำงาน) ที่กฎหมายตั้งขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ และ อำนาจในการปฏิบัติราชการ หรือ ทำงานของรัฐบาล มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามหน้าที่การงาน
“ตำแหน่ง” หมายความถึง ฐานะทางราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่ และ อำนาจ ตามที่กฎหมายกำหนด มีชื่อเรียกต่างๆกันไป เช่น
“อำนาจ” หมายความถึง
อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่.
ความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์.
"หน้าที่" และ อำนาจ เป็นของคู่กัน และจะต้องเป็น หน้าที่ และ อำนาจตามกฎหมายเท่านั้น กฎหมายมักจะใช้เป็นคำรวมกันไป คือ “อำนาจหน้าที่”
กฎหมายจะกำหนด หน้าที่ และ อำนาจออกเป็น ๒ ประการ คือ อำนาจหน้าที่ของสถาบัน ที่เป็น ส่วนราชการ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ กับ หน้าที่ และ อำนาจของบุคคล ที่เป็น ข้าราชการ หรือ เจ้าพนักงาน ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆในส่วนราชการต่างๆ.
การปฏิบัติหน้าที่บางอย่างไม่ต้องใช้อำนาจ เช่น หน้าที่ทำความสะอาดสถานที่ราชการ หน้าที่ส่งเอกสาร หน้าที่ของพนักงานการพิมพ์หนังสือ เป็นต้น.
“ความรับผิดชอบ” หมายความถึง การยอมตามผลที่ดี หรือ ไม่ดีในกิจการ ที่ได้ทำไป.
แต่ เมื่อนำไปใช้ในกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานไว้ จะหมายความถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งหมายความถึงภาระหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ให้สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี เกิดประโยชน์ แก่ทางราชการ และปวงชนชาวไทย สมความมุ่งหมาย หรือ เป้าประสงค์ ของทางราชการ หากทำไม่สำเร็จ หรือ ทำแล้วเกิดความบกพร่องเสียหาย ก็ไม่ได้รับ ความดีความชอบ ซึ่ง อาจถูกโยกย้าย ให้พ้นจากหน้าที่ได้ หากเกิดความเสียหายเกินกว่าที่ควรจะเป็นตามความนิยม หรือ ความต้องการของสังคม หรือ ของบุคคลที่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติ ที่ในทางกฎหมายใช้คำว่า "วิญญูชน" อาจต้องมีความผิดทางวินัย หรืออาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานละเมิดได้ หากกระทำการใดๆอันเข้าลักษณะที่กฎหมายถือว่าเป็นการทำละเมิด ยิ่งกว่านั้น หากการกระทำเข้าลักษณะที่กฎหมายอาญา บัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ ก็ต้องรับโทษทาง
(4.)ประเภทของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมายสามารถแบ่งได้หลายประเภทด้วยกัน แต่ถ้าแบ่งประเภทของกฎหมายตามแหล่งกำเนิดของกฎหมายก็ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ
1.1.กฎหมายภายใน
1.2.กฎหมายระหว่างประเทศ
1.1.กฎหมายภายใน
1.2.กฎหมายระหว่างประเทศ
1.1 กฎหมายภายใน(Internal Law) แ ยกพิจารณาออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้คือ
1.1.1 การแบ่งแยกประเภทกฎหมายตามเนื้อหาที่บัญญัติในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษณ
(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยคำนึงถึงเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลัก การบัญญัติกฎหมายอาจเป็นไปตามกระบวน การนิติบัญญัติหรือออกกฎหมายโดยฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นกฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจบัญญัติขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นก็ได้
(2) กฎหมายทีไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Law) ซึ่งได้แก่กฎหมายจารีตประเพณีหรือ หลักกฎหมายทั่วไปต่างๆอันเป็นกฎหมายที่มิได้ บัญญัติขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
1.1.2 การแบ่งตามสภาพบังคับของกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
(1) กฎหมายอาญา(Criminal Law) เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับ หากผู้ใดกระทำความผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ดังนั้นจึงแตกต่างจากสภาพบังคับในทางแพ่ง
(2) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์(Civil & Commercial Law) สภาพบังคับในทางแพ่งนั้นกฎหมายแพ่งมิได้กำหนดโทษไว้โดยตรงเช่นเดียวกับกฎหมาย อาญา แต่กฎหมายแพ่งก็มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย เช่น หากมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หรือ งดเว้นไม่กระทำการบางอย่างที่กฎหมายให้ต้องกระทำ หรือกระทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย เป็นต้น บุคคลดังกล่าวนั้นก็จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือทำให้การกระทำนั้นๆ ต้องตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ หรือถูกบังคับให้ชำระหนี้ เป็นต้น
1.1.3 การแบ่งตามหลักแห่งการใช้กฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
(1) กฎหมายสารบัญญัติ(Substentive Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคล ทั้งนี้โดยกฎหมายจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบของ ความผิดไว้ ซึ่งทำให้รัฐสามารถบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น
(2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ(Procederal Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีปฏิบัติหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ ดังนั้นกฎหมายวิธี สบัญญัติ ก็ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือประมวลกฎหมายวิธีความอาญา กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกฎหมายบางฉบับก็มีลักษณะเป็นทั้ง กฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ เช่น กฎหมายล้มละลาย เป็นต้น กล่าวคือมีทั้งหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบของกฎหมายและมีสภาพบังคับและขณะเดียวกันก็มีวิธีการ ดำเนินคดีล้มละลายอยู่ด้วยในกฎหมายฉบับนั้น
1.1.4 การแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยแบ่งออกเป็น กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
(1) กฎหมายมหาชน(Public Law) อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ เป็นการ กระทำเพื่อความสงบสุขของสังคม หรือเพื่อการปกครองหรือบริหารปรเทศ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
(2) กฎหมายเอกชน(Private Law) เป็นกรณีที่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่เกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการผิดสัญญา อันทำให้สามารถฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ต่าม กฎหมายบางฉบับก็อาจเป็นทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
อย่างไรก็ต่าม กฎหมายบางฉบับก็อาจเป็นทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
1.2 กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (Public intertionnal law) มีนักนิติศาสตร์บางท่านมองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้ไม่เป็น กฎหมายที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะไม่มีสภาพบังคับ กล่าวคือไม่มีองค์กรที่มีอำนาจบังคับให้ปฏิบัติตามมติของสมัชชาใหญ่ หรือสังคมประชาชนชาติหรือตามคำพิพากษาของ ศาลโลก(International Court of Justice) แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักนิติศาสตร์บางท่านก็มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้เป็นกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายข้อบังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกันในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลระหว่างประเทศ
1.2.2 กฎหมายระหว่างปรเทศแผนกคดีบุคคล(Private international law) เป็นกฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่างรัฐกัน ในกรณีที่เกิด ปัญหาพิพาทกันย่อมเกิดปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับทำให้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็มีกฎหมายที่ เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย คอยเป็นตัวกำหนดว่าให้ใช้กฎหมายใดบังคับในกรณีที่มีการขัดแย้งกันดังกล่าว
1.2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (International criminal law) เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐตกลงให้ศาลในส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดนอกประเทศได้ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจรัฐที่จะลงโทษได้ แต่อย่างไรก็ตามหากประเทศต่างๆ นั้นมีการทำสนธิสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย ก็สามารถส่งตัวผู้กระทำความผิดให้กลับมาถูกพิจารณาพิพากษายังประเทศไทยได้
(5.)ศักดิ์ของกฎหมาย
การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายใดต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือเท่ากัน จึงจะสามารถทำได้ ศักดิ์ของกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นในระบบกฎหมายไทยอาจเรียงลำดับ จากศักดิ์สูงสุดไปหาศักดิ์ตำกว่าได้ดังนี้
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบัญญัติหรือข้อบังคับขององค์กรปกครองท้องถิ่น
กฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุดของประเทศไทยก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ส่วนกฎหมายที่มีศักดิ์ลำดับรองก็ได้แก่พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ตามลำดับ และกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารระดับชาติ
หากเป็นประกาศของคณะปฏิวัติจะมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดต้องพิจารณาจากเนื้อความของประกาศของคณะปฏิวัติ ดังนั้น หากประกาศคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์ เท่ากับรัฐธรรมนูญ หรือประกาศคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ย่อมมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
....................................
คลิก!!เข้าทำแบบทดสอบ
หากเป็นประกาศของคณะปฏิวัติจะมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดต้องพิจารณาจากเนื้อความของประกาศของคณะปฏิวัติ ดังนั้น หากประกาศคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์ เท่ากับรัฐธรรมนูญ หรือประกาศคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ย่อมมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
....................................
คลิก!!เข้าทำแบบทดสอบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)