right_side

aBOUT mE!!

รูปภาพของฉัน
HELLO !! i'm ELF" u can call me "Fon" ด.ญ. ธัญญเนตร ประสุมสุข เลขที่ 31 ม.4/5

ผู้ติดตาม

Fonny

In:


ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน

ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร

โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ




การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น

การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี

ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ

สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้

กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้

(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น

กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง

1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง

1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง


การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้

1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ

ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน

อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
[แก้ไข] องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย

สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
[แก้ไข] เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น

1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ

2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่

องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย

1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี

2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล

3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้

อบต. ประกอบด้วย

1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้

(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ

นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ

การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร

สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน

ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

การบริหารราชการเมืองพัทยา

จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย

สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา

ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน

In:


นับตั้งแต่กระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานธุรการของศาลยุติธรรม 100 ปีเศษ จึงได้เกิดแนวคิดที่จะแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้พ้นจากข้อระแวงสงสัยว่า ศาลยุติธรรมอาจถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหารและไม่มีอิสสระในการพิจารณาพิพากษาคดี จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 275 บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสสระให้ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 บัญญัติให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสสระมีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงถือว่าแยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรมนับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป

สำนักงานศาลยุติธรรมมีโครงสร้างลักษณะงานแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือส่วนงานตุลาการ และส่วนงานธุรการ ก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2543 กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดูแลดำเนินงานด้านธุรการ โดยมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนทั้งทางด้านบุคคลากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ แก่ส่วนงานตุลาการ ปัจจุบันสำนักงานศาลยุติธรรมทำหน้าที่แทนกระทรวงยุติธรรมในการดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริมงานตุลาการและงานวิชาการของศาลยุติธรรม ในส่วนงานตุลาการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 271 กำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย และคดีประเภทอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ในขณะที่ศาลอื่นนอกระบบศาลยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลตนเองเช่นเดียวกัน

ระบบศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มีอยู่ทั่วราชอาณาจักรและระบบศาลยุติธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาศาลยุติธรรมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความยุติธรรมและการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลชั้นต้นเป็นศาลซึ่งรับคำฟ้องหรือคำร้องในชั้นเริ่มต้นคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาแล้วจึงตัดสินชี้ขาดทั้งมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบางเรื่องด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับกรุงเทพมหานครได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ฯลฯ

2. ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับจังหวัด อื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยศาลจังหวัดและศาลแขวงในภาค 1 – 9 ศาลจังหวัดระนองจัดอยู่เป็นศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร

In:

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)


คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27

อายุ 44 ปี เกิด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นมหาบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 จากอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในสาขาปรัชญาการเมือง และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรด้วยกัน 2 คน


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง
อายุ 59 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "เทพเทือก" จบการศึกษาปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลท่าสะท้อนต่อจากบิดา ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก เพราะในยุคนั้นรัฐมนตรีบางกระทรวงยังจบการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สุราษฎ์ธานี เมื่อปี 2522 และชนะเลือกตั้งเป็น ส.ส.ต่อเนื่องถึง 10 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ
อายุ 59 ปี จบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิค ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับประกาศนียบัตรการอบรมบริหารชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครราชสีมามาหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในปี 2544 เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนจะลงสมัคร ส.ส.ในกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน เมื่อการเลือกตั้งปี 2548 แต่ไม่ได้รับเลือก จากนั้นจึงพลิกบทบาทไปเขียนหนังสือแนวการเปิดโปงการทุจริตหลายเล่ม เช่น ใครว่าคนรวยไม่โกง ฯลฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็น รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านสังคม
ส.ส.พิจิตร อายุ 73 ปี อดีตทหารม้า ผ่านสมรภูมิมาทุกรูปแบบ ทั้งเผด็จการ รัฐประหาร เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยุคชวน หลีกภัย เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หลังพ้นการถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ก็นำสมาชิกพรรคมหาชนเข้าร่วมพรรคชาติไทย ทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรค ก่อนจะดำรงตำแหน่งรองนายกฯ เมื่อพรรคชาติไทยจับมือตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อายุ 47 ปี จบปริญญาตรี จาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และปริญญาโท จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เกียรตินิยมอันดับ1 เป็นส.ส.จังหวัดตรังหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลชวน 2 และเคยดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

นายวีระชัย วีระเมธีกุล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อายุ 41 ปี จบ MBA จากมหาวิทยาลัย Clark University ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก บัญชีดุษฎีบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นอาจารย์ประจำที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการธนาคาร Business Development Bank, กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง, ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายวีระชัยเป็นอดีตลูกเขยผู้บริหารในเครือซีพีที่ได้รับโควตาคนนอกเข้ามาร่วมรัฐบาล โดยเบียดกับนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง มาได้นาทีสุดท้าย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต.ผบ.ทบ.เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อายุ 63 ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในกองทัพ ทั้งรองแม่ทัพภาคที่ 1 , แม่ทัพภาคที่ 1,ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ, ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก และในปี 2547 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปีพุทธศักราช 2540 สาขาการพัฒนาทางทหาร ปัจจุบันเป็นประธานนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6

นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปัจจุบันอายุ 44 ปี ได้รับสมญานามว่า "หล่อโย่ง" เพราะมีความสูงถึง 193 เซนติเมตร จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งประธานบริษัทเจพี มอร์แกน (ประเทศไทย), ร่วมก่อตั้งและเป็นประธาน บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด ด้วยวัยเพียง 24 ปี ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งเข้าสู่การเมืองในวัย 40 ปี จากการชักชวนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อนนักเรียนเมื่อครั้งที่เรียนอยู่ประเทศอังกฤษ ในปี 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขต 7 กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

อายุ 53 ปี จบปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ จากนิวแฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จบปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากการชักชวนของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคในขณะนั้น เริ่มชีวิตนักการเมืองในนาม ส.ส.พิจิตร พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลชวน 2 เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ หลังรัฐประหารได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาร่วมกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โดยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค และหลังการเลือกตั้งปี 2550 ได้ดำรงำแหน่งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลสมัคร 1 และรัฐบาลสมชาย


นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

อายุ 45 ปี จบปริญญาแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สถาบันศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา เป็นแพทย์ที่ก่อตั้งคลีนิกรักษาคนไข้ในนาม "มูลนิธิทานตะวัน 19" ซึ่งเป็นคลีนิกรักษาคนไข้ที่มีรายได้น้อย ตลอดจนผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสโดยคิดค่ารักษาและค่ายาในราคา 19 บาท ต่อคน ต่อครั้ง อีกทั้งได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกตระเวณตรวจรักษาฟรี ให้กับประชาชนทั่วไปในเขต บึงกุ่ม ห้วยขวางและอื่นๆ เข้าสู่วงการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.กทม. ในนามพรรคไทยรักไทย เคยดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน


นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม.ประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

อายุ 49 ปี จบปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายเปรียบเทียบ) สหรัฐอเมริกา และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายอเมริกันทั่วไป) สหรัฐอเมริกา ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานครครั้งแรก เมื่อปี 2539 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายพิจิตต รัตตกุล) และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อายุ 53 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเป็นหนึ่งในนิสิตที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บจากการเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เข้าสู่วงการเมืองโดยเป็นหนึ่งในทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครศรีธรรมราชหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,ประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคใต้


นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย หรืออดีตมัชฌิมาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อายุ 53 ปี สามีของนางกอบกุล นพอมรบดี ส.สราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อปี 2549 นายมานิตย์ สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ราชบุรี ในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข


นายธีระ สลักเพชร ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
อายุ 51ปี ปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็น ส.สตราด สมัยแรกในปี 2539 และได้รับเลือกตั้งมาตลอด มีประสบการณ์ทำงานเป็น รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎรของสภาผู้แทนราษฎร และในฝ่ายบริหารเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

อายุ 52 ปี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบ ปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพังงาหลายสมัย ปี 2529 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ดาวรุ่ง (ส.ส. ใหม่ดีเด่น) โดยสื่อมวลชนสายรัฐสภา เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลชวน 1 ก่อนจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลชวน 2 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์


นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา

อายุ 49 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดตากก่อนจะเข้าสู่การเมืองใหญ่ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตาก หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร, คณะกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณฯลฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคเหนือ

นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จบการศึกษาปริญญาโท (MA) สาขาการตลาด Webster University, USA เป็นภรรยาของนายสุชาติ ตันเจริญ หัวหน้ากลุ่มริมน้ำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริษัทภูเก็ตอินเทอร์เน็ตจำกัด และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบอร์ดทีโอที สมัยนายมั่น พัธโนทัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
อายุ 73 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพิจิตร 9 สมัย เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม


ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
อายุ 69 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ์. 2504 และได้ทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ก่อนจะได้รับทุนต่อเนื่องในระดับปริญญาเอก สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยอิมพีเรียล ในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน จนสำเร็จการศึกษาในปี 2513 เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทคขึ้นในปี พ.ศ. 2529 และทำงานในแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตลอด เข้าสู่วงการเมืองด้วยการลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2543 แต่ไม่ได้รับเลือก ก่อนจะเข้าเป็นสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส กรุงเทพมหานคร


นายกษิต ภิรมย์ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

อายุ 64 ปี สำเร็จการศึกษา ด้านการต่างประเทศ (International Affairs) จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Institute of Social Studies ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีประสบการณ์ด้านต่างประเทศมายาวนาน เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ คือ ประเทศรัสเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการคือ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยช่วยราชการที่กระทรวงพาณิชย์ และที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย และที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร


นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล กลุ่มเพื่อนเนวิน นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

อายุ 72 ปี เป็นบิดาของนายอนุทิน ชาญวีรกูล สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 2 สมัย และนั่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยสมัคร 1 ตามโควตานครบาลของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากนั้นขยับขึ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ก่อนกลับมาว่าการที่สาธารณสุขอีกครั้ง และได้รับตำแหน่งรองนายกฯ ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก่อนจะได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมตรี หลังจากศาลมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา กลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

อายุ 47 ปี จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยเล่นการเมืองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย ก่อนจะลงสมัคร ส.ส. และได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชาชน ภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินยุบพรรค จึงออกมาเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน โดยหันไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ให้จัดตั้งรัฐบาลแทน


นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

อายุ 61 ปี เป็น ส.ส.สงขลาหลายสมัย จบนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย สำนักฝึกอบรมกฎหมาย และรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ก่อนเข้าสู่การเมืองเคยเป็นทนายความ และอัยการประจำจังหวัดกระบี่และพัทลุงมาก่อน นายถาวรเป็นผู้ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุด พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ, นายปริญญา นาคฉัตรีย์, นายวีระชัย แนวบุญเนียร ในกรณีจัดการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการการยุติธรรมและมนุษยชน และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


นายโสภณ ซารัมย์ กลุ่มเพื่อนเนวิน นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

อายุ 49 ปี เป็น จบวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ก่อนลาออกมาเป็น ส.ส สังกัดพรรคชาติไทย ปี 2544 เคยทำงานในหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร จนสร้างความไม่พอใจให้ครูทั่วประเทศมาแล้ว เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลสมชาย


นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น กลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

อายุ 57 ปี จบศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ สถาบันราชภัฏเลย และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏเลย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส ขอนแก่น 2 สมัย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร, นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2 สมัย


นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.อยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

อายุ 45 ปี จบปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำธุรกิจส่วนตัวก่อนที่จะเข้าสู่สนามการเมือง ได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในนามพรรคชาติไทย เมื่อปี 2550 และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการธิการการศึกษา รวมทั้งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี


ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

อายุ 51 ปี ภรรยาของว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำกลุ่มโคราชพรรคเพื่อแผ่นดิน จบการศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวทิยาลัยมหิดล เคยดำรงตำแหน่ง ผอ.สาธารณสุข อบจ.นครราชสีมา ก่อนลาออกลงเลือกตั้ง ส.ว.ปี 2549 และลงสมัคร ส.ส.จนได้รับเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลสมัคร และรัฐบาลสมชาย


นางพรทิวา นาคาศัย พรรคภูมิใจไทย หรือ มัชฌิมาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

อายุ 47 ปี เป็นภรรยาของนายอนุชา นาคาศัย อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท พรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกเป็น ส.ว.ชัยนาทในปี 2549 ก่อนจะลงสมัคร ส.ส.ในปี 2550 แทนสามีที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย สายกลุ่มนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (กลุ่มวังน้ำยม) ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรค ก่อนที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยจะถูกยุบ จึงไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยแทน
นางพรทิวา นาคาศัย จบการศึกษาจากรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
อายุ 52 ปี จบปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานด้านหนังสือพิมพ์มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่การทำรัฐประหารของคณะ รสช. ในปี 2534 จะเป็นจุดพลิกผันในตัดสินใจลงเล่นการเมืองในจังหวัดเพชรบุรี และได้รับการเลือกตั้งมาหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรี, เลขาธิการสภาพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตยแห่งเอเชีย (CALD) และได้รับฉายาว่า "มิสเตอร์เอทานอล" จากการเป็นผู้ผลักดันให้โครงการเอทานอลเกิดขึ้นในประเทศไทย และทำให้เกิดโรงงานเอทานอลจำนวนมาก

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
อายุ 59 ปี เป็นหมออายุรศาสตร์ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, MASTER OF PUBLIC HEALTH UNIVERSITY OF HAWAII , วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาอายุรศาสตร์ แพทยสภา, นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็น ส.ส.นครราชสีมา 5 สมัย แต่งงานกับพี่สาวของ พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ จึงอยู่ในฐานะคู่เขยของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


นายสุวิทย์ คุณกิตติ พรรคกิจสังคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
อายุ 51 ปี จบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านเคมี จากสหรัฐอเมริกา, ปริญญาดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน เป็นส.ส.ขอนแก่น มา 8 สมัย โดยเริ่มต้นเส้นทางการเมืองจากพรรคกิจสังคม ก่อนย้ายไปพรรคเอกภาพ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคม แทนนายมนตรี พงษ์พานิช ก่อนที่จะไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกตัดสินยุบพรรค นายสุวิทย์จึงออกมาตั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน ร่วมกับกลุ่มปากน้ำของ นายวัฒนา อัศวเหม และได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัคร ส.ส.จังหวัดขอนแก่น แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

แม้นายสุวิทย์ คุณกิตติ จะไม่ได้รับเลือกตั้งครั้งล่าสุด แต่ถึงกระนั้นก็ยังได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลสมัคร ก่อนจะลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดินด้วยเหตุผลว่า รัฐบาลไม่มีความชัดเจนเรื่องกรณีเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก, การจวบจ้วงเบื้องสูง และการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ อดีตเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, รองนายกรัฐมนตรี


นายธีระ วงศ์สมุทร พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อายุ 60 ปี สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับราชการในกระทรวงเกษตรฯ มานาน ทั้งตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวางโครงการก่อสร้าง (วิศวกรโยธา 8 ) , ผู้อำนวยการกองก่อสร้างโครงการใหญ่, ผู้อำนวยการสำนัก (วิศวกรโยธา 9), รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมชลประทาน, ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10 ) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมชลประทาน นายธีระเติบโตมาจากสายของพรรคชาติไทยโดยตรง


นายชาติชาย พุคยาภรณ์ กลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.ชาติชายเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเป็นประธานคณะกรรมการบริหารและพัฒนาฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในสมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาครั้งนี้ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก


นายชุมพล ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
อายุ 68 ปี จบนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สาขาบริหารรัฐกิจ Syracuse University สหรัฐอเมริกา เคยรับราชการเป็นข้าราชการสำนักงาน ก.พ. และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะเข้ามาสู่สนามการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย ของนายบรรหาร ศิลปอาชา พี่ชาย เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1, ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนจะหายไปจากวงการเมือง เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ และมีข่าวระหองระแหงกับพี่ชาย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จนนายชุมพล แยกตัวออกมาเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2543 ครั้งนี้กลับมาในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา แทนที่พี่ชายที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี


นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง พรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
อายุ 66 ปี เป็นเจ้าของห้องอาหารขนาบน้ำ จบปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฎมหาสารคาม และปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น ส.ส มหาสารคามมาหลายสมัย เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะถูกยุบ นายชาญชัยจึงย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ก่อนหน้าเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร, เลขานุการประจำรัฐสภา, เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, รองโฆษกรัฐบาล

นายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อายุ 49 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ประกอบอาชีพทนายความก่อนเข้าสู่วงการเมือง ได้รับเลือกเป็น ส.ส อุบลราชธานี 6 สมัย เคยเป็นเลขานุกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

In:

รัฐสภาไทย


รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)
[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิน 900 วัน โดยคาดว่าจะเสร็จในต้นปี พ.ศ. 2556 [1][2]

In:

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 247


วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ

1.กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
2.กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

•สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ

•สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

•สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

In:

เหตุการณ์กบฏ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)




กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

....

กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

In:

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5



รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาเป็นอันมาก ทั้งในวิชาอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ โบราณคดี ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี มวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง ตลอดจนวิชาวิศวกรรม อีกทั้งยังได้เสด็จประพาสต่างประเทศ ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ เเละขณะขึ้นครองราชย์สมบัติอีกหลายครั้ง ดังนั้นในการปกครองประเทศพระองค์จึงนำเอาการบริหารต่างประเทศมาดัดแปลงให้เข้ากับประเทศไทย เช่น การจัดทหาร ก็ให้ฝึกตามแบบอย่างของฝรั่ง การศาลก็มีการแก้ไขกฎหมายและกระบวนการพิจารณาความต่างๆ ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น ยกเลิกวิธีพิจารณาความด้วยการทรมานต่างๆที่ผิดมนุษยธรรม ทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นบริหารราชการ ยิ่งกว่านั้นยังทรงโปรดการประพาสตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทรงทราบความทุกข์สุขของประชาชนของพระองค์อยู่เสมอ

การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5


มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ 2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้


กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ

การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1.การยกเลิกระบบไพร่
1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ
พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย
1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ
1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น
2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

2. การเลิกทาส
2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้
3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว
4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป
2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411
(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5
(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย
(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้
3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443
พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป
4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส
5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ
(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก
(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น